งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน ครั้งที่ 21 ฟาร์มเห็ดถั่งเช่าเขาคิชฌกูฏออกบูธ งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2566 ประธานในพิธีเปิดงาน ...
งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน ครั้งที่ 20
งาน "ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ฯ ครั้งที่ 20" ระหว่างวันที่ 12-21 กุมภาพันธ์ 2564 *** งดจัดงาน เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID - 19 ***
งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน ครั้งที่ 19
ฟาร์มเห็ดถั่งเช่าเขาคิชฌกูฏออกบูธ งาน “ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ฯครั้งที่ 19” ระหว่างวันที่ 7-16 กุมภาพันธ์ 2563 ประธานในพิธี นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและ...
งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน ครั้งที่ 18
ฟาร์มเห็ดเขาคิชฌกูฏออกบูธ งาน “ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ฯครั้งที่ 18” ระหว่างวันที่ 9-17 กุมภาพันธ์ 2562 ประธานในพิธี นายพงษ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และแขกผู้มีเ...
งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน ครั้งที่ 17
ฟาร์มเห็ดเขาคิชฌกูฏออกบูธ งาน “ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ฯครั้งที่ 17” ระหว่างวันที่ 10-18 กุมภาพันธ์ 2561 ประธานในพิธี นายวิทูรัช ศรีนาม และผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ผู้ช่วยศาสต...
งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน ครั้งที่ 16
ฟาร์มเห็ดเขาคิชฌกูฏออกบูธ งาน “ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน” ครั้งที่ 16 วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2560 ภาพบรรยากาศพิธีลงนาม “บันทึกความร่วมมือทางวิชาการ” ร...
งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน ครั้งที่ 15
ฟาร์มเห็ดเขาคิชฌกูฏออกบูธ งาน “ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน” ครั้งที่ 15 วันที่ 13-21 กุมภาพันธ์ 2559 งาน “ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน”...
“ถั่งเช่า” จากที่ราบสูงทิเบต สู่...เขาคิชฌกูฏ
ถั่งเช่าทิเบต (Cordyceps sinensis) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ บนเทือกเขาสูงในทิเบต ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 4,000 เมตร ถั่งเช่าชนิดนี้เกิดจากการเติบโตของเห็ดสายพันธุ์หนึ่งที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ophiocordyceps sinensis ในตัวหนอนผีเสื้อค้างคาวที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hepialus Armoricanus ซึ่งจำศีลอยู่ใต้ผิวดินภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะในฤดูหนาว และเมื่อเข้าฤดูร้อนเห็ดจะค่อยๆเจริญเติบโตขึ้นมามีลักษณะคล้ายต้นหญ้า เป็นที่มาของคำว่า “หนาวเป็นหนอน ร้อนเป็นหญ้า”
ถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) ของฟาร์มเห็ดเขาคิชฌกูฏ เกิดจากการเพาะเลี้ยงในห้องปลอดเชื้อและควบคุมอุณหภูมิ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างสารออกฤทธิ์ในปริมาณสูง ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องของสายพันธุ์ที่ดีแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆในการเพาะเลี้ยง อาทิเช่น สูตรอาหาร อุณหภูมิ ความชื้น แสง วิธีการเพาะเลี้ยง วิธีเก็บเกี่ยว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ตลอดจนวิธีการเก็บรักษาผลผลิต ปัจจัยเหล่านี้ล้วนอาศัยระยะเวลา ความมุ่งมั่น ทุ่มเทศึกษาค้นคว้า พัฒนาของทีมงาน ภายใต้ความร่วมมือสนับสนุนทางวิชาการ จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพดีเยี่ยม มีสารสำคัญ (Active Ingredients) ที่ออกฤทธิ์เป็นยาในระดับสูงเหนือสินค้าทั่วไปในท้องตลาด จึงมั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงต่อสุขภาพร่างกาย
ถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris)
ถั่งเช่า เป็นเชื้อราในสกุล Cordyceps จัดอยู่ในกลุ่มราทำลายแมลง (entomopathogenic fungi) ดำรงชีพเป็นปรสิตของแมลง เช่น ถั่งเช่าธิเบต (Ophiocordyceps sinensis) เป็นปรสิตของหนอนผีเสื้อค้างคาว ถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) เจริญในหนอนแมลงได้หลายชนิดมากกว่า อยู่ใน
Kingdom: Fungi
Division: Ascomycota
Subdivision: Pezizomycotina
Class: Sordariomycetes
Order: Hypocreales
Family: Clavicipitaceae
Genus: Cordyceps
ชาวจีนรู้จักใช้ถั่งเช่าในการรักษาโรคมานานเป็นพัน ๆ ปี โดยใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด วัณโรค โรคภูมิแพ้ โรคระบบไหลเวียนในร่างกาย เช่น ความดัน โรคหัวไจ โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น ปัจจุบันการศึกษาสมัยใหม่พบว่า มีสารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ cordycepin, cordycepic acid และ adenosine ซึ่งพบในถั่งเช่าสีทองมากกว่าในถั่งเช่าธิเบต มีสรรพคุณในการยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วยโดยเฉพาะใช้ร่วมกับการรักษาทางเคมีบำบัด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการกำจัดและยับยั้งจุลินทรีย์หลายชนิดทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว และไวรัส HIV ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ประสาท ตับ ไต และปอด ฯลฯ
จากการทดลองเลี้ยงถั่งเช่าสีทองในอาหารเหลว ในห้องปฏิบัติการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร วิทยาเขตจันทบุรี พบว่าสารออกฤทธิ์ให้สูงสุด 33.35 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ในวันที่ 17 ของการเลี้ยง (รูปที่ 1) เมื่อนำไปทดสอบเบื้องต้น (ที่ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) กับเซลล์มะเร็ง 3 ชนิด คือ เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก (DU145) เซลล์มะเร็งปากมดลูก (Hela) เซลล์มะเร็งเต้านม (MDA-MB-231) (ตารางที่ 1) พบว่านำเลี้ยงเชื้อจำนวนเพียง 0.364 ไมโครลิตร (หรือ 3.64 x 10-1 ไมโครลิตร หรือคิดเป็นปริมาณของสารออกฤทธิ์คือ cordycepin ประมาณ 0.012 ไมโครกรัม) มีผลยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้แล้ว และค่า Cytotoxic IC50 สูงกว่าค่า Anti-proliferation IC50 มากเป็นพันเท่าขึ้นไป จึงถือว่าไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์
รูปที่ 1 ปริมาณสารออกฤทธิ์คือ cordycepin และ adenosine ในน้ำเลี้ยงเชื้อถั่งเช่าสีทองเมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 21 วัน
ตารางที่ 1 ปริมาณน้ำเลี้ยงเชื้อที่มีผลต่อค่าความเป็นพิษ (Cytotoxic IC50) และค่าการยับยั้งการแพร่กระจาย (Anti-proliferation IC50) เซลล์มะเร็ง 3 ชนิด
|
ปริมาตรน้ำเลี้ยงเชื้อที่ใช้ทดสอบ |
|
เซลล์มะเร็ง |
Cytotoxic IC50 (µl/ml) |
Anti-proliferation IC50 (µl/ml) |
DU145 |
379.35 |
3.64 x 10-1 |
Hela |
1.07 x 1012 |
672.78 |
MDA-MB-231 |
6.80 x 103 |
2.04 x 103 |
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารออกฤทธิ์ของถั่งเช่าสีทองสามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งทั้ง 3 ชนิด และไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ สอดคล้องกับรายงานการศึกษาวิจัยในปัจจุบันเรื่องของความสามารถในการยับยั้งเซลล์มะเร็งของถั่งเช่า
ในประเทศไทยการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทองเริ่มแพร่หลาย โดยนำเข้าสายพันธุ์จากต่างประเทศแต่วิธีการเพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์ปริมาณสูงยังคงเป็นความลับของแต่ละฟาร์ม จากการสำรวจปริมาณสารออกฤทธิ์ของถั่งเช่าสีทองจากฟาร์มต่าง ๆ ทั่วประเทศ พบว่ามีค่าเฉลี่ยของสารออกฤทธิ์ คือ cordycepin อยู่ที่ 3,200 ppm. ราคาปัจจุบัน (2559) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 60,000 บาทต่อกิโลกรัม